link1

ศูนย์ข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวทั่วไทย
กระบี่ กาญจนบุรี ขอนแก่น ชลบุรี เชียงใหม่ ชุมพร ไทย พระนครศรีอยุธยา พังงา พิษณุโลก แม่ฮ่องสอน ยะลา ระนอง สงขลา สุพรรณบุรี นครราชสีมา กรุงเทพมหานครฯ กาฬสินธุ์ มหาสารคาม นครนายก น่าน ประจวบคีรีขันธ์ ปัตตานี พะเยา พัทลุง เพชรบูรณ์ แพร่ ราชบุรี ลำปาง สตูล สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สระแก้ว สระบุรี สิงห์บุรี สุราษฎร์ธานี อุทัยธานี ชัยภูมิ ตราด นครปฐม นนทบุรี บุรีรัมย์ ปทุมธานี ยโสธร ร้อยเอ็ด สกลนคร หนองบัวลำภู อำนาจเจริญ อุดรธานี อุบลราชธานี สุรินทร์ ภูเก็ต ระยอง เลย มุกดาหาร นครพนม ศรีสะเกษ หนองคาย อุตรดิตถ์ สุโขทัย ตาก เชียงราย ลำพูน ตรัง นครศรีธรรมราช ปราจีนบุรี ลพบุรี ชัยนาท จันทบุรี เพชรบุรี สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา อ่างทอง กำแพงเพชร นครสวรรค์ นราธิวาส พิจิตร

บริการสืบค้น

Custom Search

หลวงพ่อปู่วัดโกรกกราก พระเนื้อศิลาแลง อายุมากกว่า 100 ปี พระประธานของวัดโกรกกราก ต.โกรกกราก วัดแห่งนี้มีความแปลกและน่าสนใจที่พระพุทธรูปที่วัดนี้สวมแว่นตาดำไว้ตลอด เดิมทีหลวงพ่อปู่ประดิษฐานอยู่ที่วัดช่องสะเดา ซึ่งเป็นวัดร้างเก่าแก่ ริมแม่น้ำท่าจีน ห่างจากวัดโกรกกราก ไม่กี่กิโลฯ ชาวรามัญบ้านกำพร้า เลยอัญเชิญลงเรือพร้อมพระเนื้อสำริดอีกองค์ ล่องมาตามแม่น้ำเพื่อไปไว้ที่วัดอื่น ก็ไม่ทราบเหมือนกันว่าจะไปไว้วัดไหน ระหว่างล่องเรือเกิดพายุ ฝนตกหนัก จึงจอดเรืออุ้มพระศิลาแลง

มาหลบฝนบนฝั่งหน้าวัดโกรกกราก เพื่อไม่ให้ถูกน้ำฝนกัดเซาะ พอลมฝนสงบ จะอุ้มลงเรือ แต่อุ้มไม่ขึ้น ไม่ว่าจะใช้วิธีใดก็ตาม หนึ่งในชาวบ้านจึงตั้งจิตอธิฐาน ว่าหากพระศิลาแลงต้องการจะอยู่ที่วัดโกรกกราก ก็ขอให้อุ้มพระขึ้น สุดท้ายก็อุ้มขึ้นจริง ๆ เลยอัญเชิญมาไว้ที่วัดโกรกกรากนับแต่บัดนั้น และเรียกว่าหลวงพ่อปู่วัดโกรกกราก ส่วนที่ใส่แว่นตาดำไว้ตลอด เพราะ สมัยหนึ่งเกิดมีโรคตาแดงระบาดไปทั่ว ต.โกรกกราก รักษายังไงก็ไม่หายขาด ชาวบ้านเลยมาบนบานกราบไหว้หลวงพ่อปู่ ว่าหายจากโรคตาแดง จะนำแว่นตาดำมาถวาย จากนั้นไม่นานชาวบ้านก็หายจากโรค เลยนำแว่นมาถวายและสวมไว้ตลอดจนถึงทุกวันนี้

ตั้งอยู่ที่ตำบลท่าจีน ห่างจากตัวจังหวัด 4 กิโลเมตร สามารถเดินทางตามทางหลวงหมายเลข 35 (ถนนธนบุรี-ปากท่อ) บริเวณกิโลเมตรที่ 31 เชิงสะพานท่าจีน เป็นวัดเก่าแก่มีอายุประมาณ 400 ปี สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา สมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้รับพระราชทานนามว่า วัดใหญ่สาครบุรีรวมทั้งได้พระราชทานพระไตรปิฎก และยกฐานะเป็นพระอารามหลวง ภายในวัดมีโบราณสถานที่สำคัญ คือ พระวิหารเก่าแก่ก่ออิฐถือปูนฐานแอ่นโค้งคล้ายท้องเรือสำเภา ที่ซุ้มประตูและหน้าต่างมีการประดับลวดลายปูนปั้น นอกจากนี้ยังมีงานแกะสลักไม้ที่บานประตูและหน้าต่างของพระอุโบสถ เป็นลายพันธุ์พฤกษา ต้นไม้ ภูเขา รูปสัตว์ และบุคคล เป็นศิลปะแบบจีน ซึ่งเป็นลวดลายแกะสลักลึกเข้าไปในเนื้อไม้ที่งดงามมาก กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2479

ครั้นถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปฏิรูปการปกครองมีการจัดระบบราชการส่วนภูมิภาคเป็นมณฑลเทศาภิบาล และประกาศจัดตั้งสุขาภิบาลแห่งแรกของประเทศไทยขึ้นที่ตำบลท่าฉลอมเมื่อปี พ.ศ. 2449

ต่อมา พ.ศ. 2456 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระบรมราชโองการให้ทางราชการเปลี่ยนคำว่าเมืองเป็น จังหวัดทั่วทุกแห่ง เมืองสมุทรสาครจึงได้เปลี่ยนเป็นจังหวัดสมุทรสาครมาจนทุกวันนี้ ส่วนคำว่า มหาชัยที่คนชอบเรียกกันนั้นเป็นชื่อของคลองที่ขุดขึ้นที่ตัดความคดเคี้ยวของคลองโคกขามอันเป็นสัญลักษณ์แห่งความซื่อสัตย์ของพันท้ายนรสิงห์

จังหวัดสมุทรสาครมีเนื้อที่ประมาณ 872 ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองเป็น 3 อำเภอ คืออำเภอเมือง อำเภอกระทุ่มแบน และอำเภอบ้านแพ้ว